ข่าวเกี่ยวกับครู

ไม่ได้เข้ามาที่ สนเ นี้ นาน จนลืมไปว่า มี blog นี้ วนี้จึงมาเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับครู
มีข่าวคราวเกี่ยวกับการศึกษา และเกี่ยวกบัครูผลายเรื่อง แต่ดูเหมือนว่า มีเรื่องที่เป็นลบมากกว่าเป็นบวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเอาไปเกี่ยวโยงกับเรื่องคุณภาพการศึกษา

  1. ครู กับ หนี้สิน  เห็นข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินของครู ตัวเลขขึ้นไปสูงถึงแสนล้าน เห็นตัวเลขแล้วตกใจ แต่เมื่อมาดูข้อเท็จจริง ก็ต้องเชื่อ เพราะถามเพียงเพื่อนครู หรือครูที่รู้จัก เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นหนี้ ทุกวันนี้ถ้าดูให้ดีๆ บ้านที่ครูอยู่ก็เป็นหนี้ บางคนมีรถขี่ ก็เป็นหนี้ เงินที่ส่งลูกเรียน ก็ กู้เขามา เงินที่ใช่จ่ายประจำวัน ก็เงินกู้ เงินเดือนแทบไม่เหลือ เอาตัวเลขง่ายๆ ถ้าต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 5 ปีหนึ่งครูต้างเสียดอกเบี้ย ปีละ 5 พันล้านบาท เห็นตัวเลขแล้ว น่าตกใจ แต่มาดูเรื่องน่าตกใจมากขึ้น เพราะมีความพยายามช่วยแก้ปัญหาหนี้ครู โดยขยายให้กู้ได้มากขึ้น เช่น เงินกู้ ชพค. ที่เขาเรียกกันว่า กู้เงินกระดูก เพราะครูทุกคนเป็นสมาชิดคุรุสภา จะถูกหักเงินแต่ละเดือนเพื่อเอาไว้จ่ายคืนเมื่อเสียชีวิต ก็เหมือนกับประกันชีวิต แต่ไปกู้เงิน โดยเอาเงินนี้ไปค้ำประกัน เรียกว่า เอาเงินอนาคตหลังตามมาใช้ และวงเงินกู้สูงมาก เป็นหลักล้าน ผลก็คือ ครูเป็นหนี้มากขึ้น ถ้ามีวินับในการใช้จ่ายก็ดีไป แต่ถ้าไม่มี ก็มีผลต่อ ภาระหนี้สินที่เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันจึงมีครูจำนวนหนึ่ง ขอย้ำว่าจำนวนหนึ่ง ไม่เป็นอันทำหน้าที่ เพราะสมองต้องคิดเกี่ยวกับเรื่องอาชีพเสริม ที่จะนำมาเสริมเงินเดือนให้พอกับหน้าสินที่ต้องจ่ายแต่ละเดือน
  2. ครูกับการปฏิรูป

การกู้คืนข้อมูล

หลายท่านที่ทำงานคอมพิวเตอร์ อาจจะพลั่งเผลอ ลบข้อมูลทิ้ง แล้วหาวิธีการกู้คืนข้อมูลกลับมาใช้งาน แต่อาจจะไม่รู้วิธีการ แต่ก็ไม่ยาก ถามคนที่เคยทำงานคอมพิวเตอร์นิดเดียวก็ทราบ แต่ที่ร้ายกว่านั้นก็คือ เผลอ Format ข้อมูลทิ้ง เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าไป Format ที่เก็บข้อมูลสำคัญ เช่น Harddisk ยิ่งแล้วใหญ่ การกู้คืนค่อข้างยาก หรือบางครั้งก็ไม่สามารถกู้คืนได้ ลองมาศึกษาดูนะครับว่า มีวิธีกู้คืนข้อมูลได้อย่างไรบ้าง

การวิจัยและประเมินผล

Read more of this post

แหล่งรวมเรื่องราว ICT

แหล่งรวมเรื่องราวความรู้เหกี่ยวกบั ICT

ลืม blog นี้ไปเสียนาน

วันนี้เปิดสมุดบันทึกขึ้นมา จึงเห็นบันทึกว่าได้เปิด Blog นี้ไว้ จึงเข้ามาเปิดดู และบันทึกต่อเนื่องเอาไว้ และคงจะต้องบันทึกเรื่องราวต่างๆ เกี่ยว

การศึกษาทางไกล

การศึกษาทางไกล เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ในวงการศึกษาบ้านเรา เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้พัฒนาไปมาก ทำให้การเรียนการสอนสามารถขยายได้ไกลมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันรูปแบบการศึกษาทางไกลในประเทศไทยมีหลายนรูปแบบ

ถึงแม้ว่าการศึกษาทางไกลจะพัฒนาไปเพียงใด ก็มักจะมีคำถามเสมอว่า คุณภาพของการศึกษาทางไกลเป็นอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาแบบชั้นเรียน คงเป็นเรื่องที่ตอบยากพอสมควร แต่ก็ต้องยอมรับว่า เมื่อมองที่ผลผลิตที่ออกมาที่ปรากฏกับผู้เรียน โดยภาพรวมคงจะมีคุณภาพเทียบเท่ากับการศึกษาแบบชั้นเรียนได้ยาก แต่ถ้าพิจารณาเป็นรายบุคคลก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ปัจจุบันการศึกษานอกโรงเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เริ่มีแนวโน้มที่จะมาใช้รูปแบบการศึกษาทางไกลมากขึ้น จากเดินที่ส่วนมากเป็นการเรียนแบบกลุ่ม คงต้องไปถามว่า เพราะอะไรแนวโน้มจึงเป็นเช่นนั้น

การรักษาความปลอดภัยเครือข่าย

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วคือระหว่างวันที่ 9-13 มีนาคม 1552 ได้มีโอกาสเข้ารับกการอบรม เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน การอบรมครั้งนี้ จึงตั้งเป้าหมายไว้ 2 เรื่อง คือ

     เรื่องที่ 1 เรียนรู้เพื่อนำมาปฏิบัติ คือเรียนให้รู้ เมื่อรู้แล้ว ก็ทดลองใช้ จนใช้งานได้ ก็นำมาปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหางานในหน้าที่ 

     เรื่องที่  2 เรียนผู้เพื่อนำมาเผยแพร่ เมื่อปฏิบัติจนได้ผลแล้ว ก็เผยแพร่ไปยังผู้อื่น ทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจ

นโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้กำหนดนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน จัด ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในปีงบประมาณ พ.ศ.2552 ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2551-2554 และแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ.2551-2554) โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการส่งเสริมสนับสนุนและประสานความร่วมมือการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ดังนี้
1. นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ
จุดเน้นการดำเนินงาน
1.1 การส่งเสริมการรู้หนังสือ: มุ่งเน้นให้สถานศึกษา สำรวจผู้ไม่รู้หนังสือในพื้นที่ให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน และดำเนินการจัดให้ผู้ไม่รู้หนังสือได้เรียนรู้จากหลักสูตรและสื่อที่เหมาะสมกับสภาพของกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ทั้งนี้โดยร่วมมือกับสถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.2 การยกระดับคุณภาพการศึกษาของประชากรวัยแรงงาน: มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนเรียน ได้เรียนในรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของตนเอง โดยมีอัตราการคงอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ในหมวดวิชาหลักไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และอัตราการจบร้อยละ 80 ในแต่ละภาคเรียน ให้ความสำคัญกับการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ การเทียบระดับการศึกษาและการประสานความร่วมมือกับองค์กรหลักในการจัดการศึกษาร่วมกัน
1.3 การศึกษาต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาอาชีพและทักษะชีวิต: มุ่งเน้นการจัดการศึกษาต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลักสูตรระยะสั้นและการฝึกอบรมที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งให้สามารถนำความรู้ ความสามารถที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้จริง รวมทั้งการมีคลังหลักสูตรที่หลากหลาย เพื่อรองรับการจัดบริการทางการศึกษา
1.4 การศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (การศึกษานอกระบบ): มุ่งเน้นการประสานการจัดการศึกษาร่วมกับสถานประกอบการ และสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในพื้นที่ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้ได้มาตรฐานพอเพียงสำหรับการประกอบอาชีพ

2. นโยบายด้านการศึกษาตามอัธยาศัย
จุดเน้นการดำเนินงาน
2.1 การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน: มุ่งเน้นการประสานความร่วมมือกับแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ในชุมชนเพื่อจัดทำฐานข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ การดำรงชีวิต การสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.2 การพัฒนาห้องสมุดประชาชน: มุ่งเน้นให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ของนักศึกษาในหลักสูตรต่าง ๆ ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน.และพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความรู้จากภายนอก ความรู้สากล และข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอาชีพ การทำมาหากิน
2.3 การพัฒนารูปแบบและวิธีการ: ส่งเสริมให้สถานศึกษา พัฒนารูปแบบและวิธีการเรียนรู้การศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีความหลากหลายเพื่อกระตุ้นส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

3. นโยบายด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน
จุดเน้นการดำเนินงาน
3.1 ศูนย์การเรียนชุมชน: มุ่งเน้นการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนชุมชนให้เป็นฐานของการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน มุ่งส่งเสริมให้ชุมชนที่มีความพร้อมจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนให้มากขึ้น โดยกำหนดเป้าหมายให้สำนักงาน กศน.จังหวัด จัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชน หนึ่งแห่งในตำบลเป็นศูนย์ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบล เพื่อเป็นแม่ข่ายของศูนย์การเรียนต่าง ๆ ในชุมชน ทั้งนี้โดยความเห็นชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล และภาคีเครือข่ายอื่น
3.2 อาสาสมัครส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย: มุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้มีจิตอาสา ตลอดจนผู้รู้หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อาสาสมัครเข้ามามีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน เป็นผู้สื่อสารข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและนำเสนอความต้องการการเรียนรู้และการพัฒนาชุมชน โดยเป็นทีมร่วมกับครูในสังกัดสำนักงาน กศน.
3.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชน: มุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถในการแสวงหาความรู้ของกลุ่มเป้าหมาย การสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชน การจัดการความรู้ การวิจัยชุมชนซึ่งเป็นพื้นฐานของการนำความรู้ไปแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน เช่น เศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง การพัฒนาชุมชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ฯลฯ

4. นโยบายด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา
จุดเน้นการดำเนินงาน
4.1 สื่อวิทยุโทรทัศน์ และวิทยุเพื่อการศึกษา: มุ่งพัฒนารายการให้เชื่อมโยง ตอบสนอง ต่อการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมคุณภาพการเรียนการสอนสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ
4.2 อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา: ส่งเสริมให้หน่วยงานและสถานศึกษา สังกัด กศน.มีเว็บไซต์ของตนเองโดยเชื่อมโยงกับระบบ Portal Web เพื่อให้เกิดเครือข่ายการให้บริการที่กว้างขวาง มีหลักสูตรและโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่หลากหลายตอบสนองความต้องการของผู้เรียน
4.3 การศึกษาทางไกล: มุ่งพัฒนาระบบการเรียนการสอน โดยบูรณาการการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายมาเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ขยายกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการให้มากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

5. นโยบายด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
จุดเน้นการดำเนินงาน
5.1 กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา: มุ่งพัฒนากิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ให้เชื่อมโยงกับกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาของชุมชน มุ่งเน้นให้ชุมชนสามารถใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้เพื่อการพัฒนาอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชน
5.2 เครือข่ายการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์: ส่งเสริมให้ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
ทุกระดับสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ทั้งภายในองค์กร กศน. และองค์กรภายนอกเพื่อการให้บริการแก่ประชาชน และพัฒนาความรู้ของตนให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิตของบุคคลและชุมชน

6. นโยบายด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
จุดเน้นการดำเนินงาน
6.1 การพัฒนาวิชาการ: มุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตร สื่อ รูปแบบและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้การวิจัยเป็นพื้นฐานของการพัฒนาและมุ่งหมายให้งานวิชาการเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติที่มีคุณภาพ
6.2 การพัฒนาบุคลากร: ส่งเสริมให้บุคลากรทุกระดับได้พัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะครู กศน. ซึ่งจะมีบทบาทหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอน โดยมุ่งพัฒนาให้เป็น กศน. มืออาชีพ ดังนี้
(1) สำนักงาน กศน.จังหวัดมีหน้าที่พัฒนาครู กศน.ในเนื้อหาสาระที่มีความเฉพาะกับบริบทของพื้นที่
(2) สถาบันพัฒนา กศน.ภาค มีหน้าที่จัดการพัฒนาครูในเนื้อหาสาระหลักที่ครู กศน. ทุกคนจำเป็นต้องรู้
(3) สถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร มีบทบาทหลักในการพัฒนาบุคลากรในเนื้อหาสาระที่สำคัญต่อการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของบุคลากรแต่ละระดับ
(4) กลุ่มการเจ้าหน้าที่ จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาบุคลากร กศน.โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6.3 การนิเทศการศึกษา: ให้ความสำคัญกับการนิเทศภายใน ซึ่งเป็นบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาและส่งเสริมให้ศึกษานิเทศก์ กศน. เป็นผู้นิเทศและเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของสถานศึกษาสังกัด กศน.
6.4 การประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย: มุ่งเน้นให้สถานศึกษา กศน.ทุกแห่งจัดระบบการประกันคุณภาพ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และให้ความสำคัญกับสถานศึกษาที่จะรับการประเมินภายนอกโดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมและการจัดทำรายงานการประเมินตนเองที่ตรงกับสภาพจริงของสถานศึกษา ทั้งนี้เพื่อส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

7. นโยบายด้านการส่งเสริมสนับสนุนภาคีเครือข่าย
จุดเน้นการดำเนินงาน
7.1 การประสานงานกับคณะกรรมการ: มุ่งเน้นให้สถานศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ประสานการทำงานร่วมกับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องตามบทบาทหน้าที่เพื่อสร้างความเข้าใจงานด้านการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และเสริมสร้างโอกาสและบทบาทในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
7.2 การสร้างเสริมบทบาทของภาคีเครือข่าย: มุ่งเน้นให้หน่วยงานและสถานศึกษา กศน. ประสานงานและสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกระดับ ทุกประเภทให้เข้ามามีบทบาทในการจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น การจัดให้มีสมัชชาภาคีเครือข่าย การยกย่องเชิดชูเกียรติ ทั้งนี้โดยขจัดอุปสรรคต่างๆ ในการทำงานและสร้างเสริมบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน

8. นโยบายด้านการบริหาร
จุดเน้นการดำเนินงาน
8.1 การบริหารการศึกษา: มุ่งเน้นการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและหน่วยงานในสังกัดทุกระดับ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใสตรวจสอบได้ หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า
8.2 การบริหารงานภาครัฐ: ให้ความสำคัญกับการบริหารตามหลักการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) โดยเฉพาะการสร้างวัฒนธรรมการทำงานและค่านิยมร่วมขององค์กร
8.3 การเตรียมความพร้อมบุคลากรตามระเบียบข้าราชการพลเรือน: เน้นการทำความเข้าใจการเข้าสู่ระบบโดยสร้างบุคลากรใหม่ และเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน
8.4 ระบบฐานข้อมูล: ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการโดยเฉพาะข้อมูลนักศึกษาและผู้เรียนในหลักสูตรต่างๆ ข้อมูลสถานศึกษา ข้อมูลศูนย์การเรียนชุมชน ตลอดจนส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารจัดการและจัดให้มีการบริการข้อมูลสารสนเทศ
8.5 การกำกับติดตาม: ให้ความสำคัญกับระบบการกำกับติดตาม และรายงานผลการดำเนินงาน ทั้งด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการบริหารของหน่วยงานและสถานศึกษา โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือวิธีการอื่นที่เหมาะสม
8.6 โครงสร้างพื้นฐาน: มุ่งเน้นการจัดทำแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการระดมทรัพยากรในการซ่อมแซม บำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานให้พอเพียงและพร้อมที่จะให้บริการทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

9. นโยบายด้านการสนับสนุนโครงการพิเศษ
จุดเน้นการดำเนินงาน
9.1 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: เน้นการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อตอบสนองแนวทางการดำเนินงานของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ โดยเฉพาะการถ่ายทอดความรู้ของโครงการสู่กลุ่มเป้าหมาย และการพัฒนาความสามารถการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
9.2 การส่งเสริมการเรียนรู้กลุ่มเป้าหมายพิเศษ: ให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ เด็กด้อยโอกาส เด็กและเยาวชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ผู้พิการ ชาวไทยในต่างประเทศ ซึ่งมีกฎหมายและนโยบายการพัฒนาโดยเฉพาะให้ได้รับบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง

10. นโยบายด้านการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551
จุดเน้นการดำเนินงาน
10.1 เร่งรัดการออกกฎ ระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขกฎ ระเบียบ คำสั่งที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
10.2 เร่งรัดการบริหารจัดการบุคลากรให้เข้าสู่ตำแหน่ง และโครงสร้างองค์กรอย่างสมบูรณ์เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
10.3 เร่งพัฒนาโครงสร้างองค์กร ให้มีศักยภาพในการดำเนินงาน จัด ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
10.4 เร่งพัฒนาภาพลักษณ์ขององค์กร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดี มีทัศนคติที่ถูกต้อง และเกิดการยอมรับอย่างกว้างขวาง

Hello world!

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!